แผนปฏิบัติการจัดการความหลากหลายทางชีวภาพ พ.ศ. 2560-2564

ยุทธศาสตร์ที่ 4 พัฒนาองค์ความรู้และระบบฐานข้อมูลด้านความหลากหลายทางชีวภาพให้เป็นมาตรฐานสากล

4.1 แผนปฏิบัติการจัดการองค์ความรู้และฐานข้อมูล
ตัวชี้วัด

1 มีองค์กรกลางในการขับเคลื่อนและใช้ประโยชน์ฐานข้อมูลที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์ในการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน

2 เชื่อมโยงและขยายเครือข่ายกลไกการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารด้านความหลากหลายทางชีวภาพครอบคลุมทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

3 มีกลไกการนำองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้กำหนดนโยบายและแผนด้านความหลากหลายทางชีวภาพ

4 มีฐานข้อมูลเฉพาะเรื่องในประเด็นด้านความหลากหลายทางชีวภาพที่มีลำดับความสำคัญสูง

5 จำนวนเทศบาลที่มีการจัดเก็บข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับความหลากหลายทางชีวภาพในเมือง


แนวทางปฏิบัติ แผนงาน/โครงการ ผลการดำเนินงาน
4.1.1.1 ศึกษา สำรวจสถานภาพความหลากหลายทางชีวภาพ รวบรวมข้อมูลและปรับปรุงระบบฐานข้อมูลสถานภาพความหลากหลายทางชีวภาพ ฐานข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพที่มีลำดับความสำคัญสูง พื้นที่คุ้มครอง และชนิดพันธุ์ที่ถูกคุกคามและใกล้สูญพันธุ์ เพื่อใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการกำหนดนโยบายและทิศทางการดำเนินการด้านความหลากหลายทางชีวภาพของประเทศ 1. โครงการวิจัยภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านความหลากหลายทางชีวภาพของพืชในชุมชน
2. จัดทำคลังข้อมูลทรัพยากรชีวภาพ (Biobank) ระดับชาติ ให้ครอบคลุมพืช สัตว์ และจุลินทรีย์ รวมถึงข้อมูลบัญชีรายการทรัพยากรชีวภาพ และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
3. รวบรวมและปรับปรุงข้อมูลชนิดพันธุ์ในประเทศไทยให้เป็นปัจจุบัน ทั้งชนิดพันธุ์พืช สัตว์ และจุลินทรีย์ และเผยแพร่ในระบบเครือข่ายข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพ
4. สำรวจและจัดทำข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพในพื้นที่วิกฤตทางความหลากหลายทางชีวภาพ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออก
5. การจัดทำระบบชีวสารสนเทศ (Bioinformatics) ในสัตว์ และจุลินทรีย์ในสัตว์
6. จัดทำระบบฐานข้อมูลกลไกการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารความหลากหลายทางชีวภาพด้านปศุสัตว์ (CHM)
7. พัฒนาระบบสารสนเทศองค์ความรู้ดิจิตอลภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
8. การจัดทำฐานข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ
9. การจัดทำฐานข้อมูลความหลากหลายของข้าวพันธุ์พื้นเมืองและผักพื้นบ้าน
10. สำรวจและจัดทำฐานข้อมูลพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระดับท้องถิ่น ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลางและภาคตะวันออก
11. จัดทำฐานข้อมูลสารสนเทศความหลากหลายทางชีวภาพด้านการประมงให้มีความครบถ้วนและเป็นปัจจุบัน อีกทั้งสามารถบูรณาการและเชื่อมโยงกันได้ระหว่างหน่วยงาน
12. จัดทำระบบฐานข้อมูลแนวเขตป่าไม้และกิจกรรมในเขตป่าไม้ในระบบภูมิสารสนเทศ
13. จัดทำฐานข้อมูลอนุกรมวิธานด้านความหลากหลายทางชีวภาพท้องถิ่น
14. ปรับปรุงข้อมูลสถานภาพชนิดพันธุ์ที่ถูกคุกคามและใกล้สูญพันธุ์ของประเทศไทย (Thailand’s red data)
15. จัดทำทะเบียนรายการชื่อชนิดพันธุ์ในประเทศไทย (Checklist) โดยเฉพาะในพื้นที่ที่มีความสำคัญ
16. โครงการพรรณพฤกษชาติแห่งประเทศไทย (Flora of Thailand)
17. จัดทำรายชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย (เต็ม สมิตินันท์) ผ่านระบบอินเตอร์เน็ต และแอพพลิเคชั่น (Application)
18. ประเมินสถานภาพพืชที่ถูกคุกคามในประเทศไทย
19. สำรวจ จัดจำแนก และประเมินสถานภาพชนิดพันธุ์ไม้ป่าในพื้นที่คุ้มครองตามบัญชีชนิดพันธุ์ที่ใกล้สูญพันธุ์
20. สำรวจ จัดจำแนก และประเมินสถานภาพชนิดพันธุ์ไม้ป่าในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติตามบัญชีชนิดพันธุ์ที่ใกล้ สูญพันธุ์
21. ประเมินสถานภาพไม้หวงห้ามที่ถูกคุกคามในแหล่งที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติ
22. สำรวจความหลากหลายทางชีวภาพ จัดทำฐานข้อมูลและองค์ความรู้ด้านความหลากหลายทางชีวภาพและภูมิปัญญาที่เกี่ยวข้อง (พืช สัตว์ แมลง เห็ดรา และ ไลเคน)
23. โครงการความหลากหลายของพืชมีท่อลำเลียงบริเวณเขาหินปูนในเขตพรรณพืชตะวันตกเฉียงใต้
24. โครงการพืชมีท่อลำเลียงบริเวณเขาหินปูนในวนอุทยานภูผาล้อม จังหวัดเลย
25. โครงการใช้ประโยชน์และสถานภาพการกระจายพันธุ์ของแวงในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
26. โครงการศึกษาและทบทวนอนุกรมวิธานพืชในประเทศไทย
27. โครงการพฤกษศาสตร์พื้นบ้านของกลุ่มชาติพันธุ์ในภาคเหนือตอนบน (ระยะที่ 2 พื้นที่จังหวัดเชียงใหม่)
28. โครงการสำรวจชนิดพันธุ์มดต่างถิ่นที่รุกรานสู่ป่าอนุรักษ์
29. โครงการความหลากหลายทางชีวภาพและศักยภาพการเป็นพาหะนำโรคของแมลงริ้นดำในประเทศไทย
30. สำรวจประเมินสถานภาพทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง
31. สำรวจประเมินสถานภาพทรัพยากรป่าชายเลน
32. ติดตามสถานภาพความหลากหลายทางชีวภาพในแต่ละระบบนิเวศของประเทศ เน้นชนิดพันธุ์เฉพาะถิ่นและชนิดพันธุ์ที่ถูกคุกคาม และนำเสนอในกลไกการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารความหลากหลายทางชีวภาพ
33. โครงการสำรวจและศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพของจุลินทรีย์ก่อโรคในปศุสัตว์
34. การสำรวจความหลากหลายทางชีวภาพของไลเคน รอบพื้นที่มหาวิทยาลัยรามคำแหง สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครศรีธรรม ราช แพร่ หนองบัวลำภู และ อุทัยธานี
35. สำรวจความหลากชนิดและการใช้ประโยชน์สัตว์มีกระดูกสันหลังในพื้นที่มหาวิทยาลัยรามคำแหงสาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติฯ จังหวัดนครศรีธรรมราช, แพร่, หนองบัวลำภู และอุทัยธานี
36. สำรวจความหลากหลายทางชีวภาพของป่าไม้ในเมือง
37. ศึกษาพฤกษศาสตร์พื้นบ้านของพืชกลุ่มเทอริโดไฟท์ (pteridophyte) ในเขตภาคตะวันออกของประเทศไทย
38. ศึกษาความหลากหลายของราที่อาศัยอยู่ร่วมกับสิ่งมีชีวิตในแนวปะการังบริเวณหมู่เกาะแสมสาร จังหวัดชลบุรี ภายใต้โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
39. จัดตั้งและดำเนินงานศูนย์ชีววัสดุประเทศไทย (Thailand Bioresource Research Center,TBRC)
4.1.1.2 เสริมสร้างสมรรถนะบุคลากรสถาบันการศึกษา องค์กรพัฒนาเอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ชุมชนท้องถิ่น และเครือข่าย ในการศึกษา สำรวจ และจัดเก็บข้อมูลสถานภาพความหลากหลายทางชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เกี่ยวข้อง 1. ส่งเสริมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและเทศบาลในการสำรวจและจัดเก็บข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นในพื้นที่
2. เสริมสร้างสมรรถนะเจ้าหน้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและเทศบาลในพื้นที่ ในการสำรวจและติดตามตรวจสอบสถานภาพความหลากหลายทางชีวภาพในพื้นที่
4.1.1.3 จัดทำคลังข้อมูล (web portal) ด้านความหลากหลายทางชีวภาพ และทะเบียนรายการทรัพยากรชีวภาพ และภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องตามมาตรฐานสากลที่สามารถใช้ในการอ้างอิงและแสดงถึงแหล่งที่มาได้เพื่อปกป้องและคุ้มครองสิทธิประโยชน์ของประเทศ 1. สร้างและเผยแพร่คลังข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพเพื่อใช้ประโยชน์ในการจัดทำนโยบายระดับชาติในเรื่อง pollinator, ชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่รุกราน และชนิดพันธุ์อพยพ
2. การจัดการข้อมูลในโครงการ ISIS (International Species Information System) และ ZIMS (Zoological information Management System)
3. พัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการให้บริการข้อมูลและองค์ความรู้ทั้งในและต่างประเทศ (www.thaibiodiversity.org)
4.1.1.4 ปรับปรุงและพัฒนาระบบและกลไกเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูล (Clearing House Mechanism) และองค์ความรู้ด้านความหลากหลายทางชีวภาพ รวมทั้ง ฐานข้อมูลสถานภาพ ขอบเขต แนวกันชน และแผนที่พื้นที่ชุ่มน้ำที่เป็นปัจจุบันและสามารถเข้าถึงได้ในทุกระดับ และทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง รวมถึงระบบข้อมูลสนับสนุนการตัดสินใจในเชิงนโยบาย 1. สนับสนุนหน่วยงาน สถาบันการศึกษาเผยแพร่ข้อมูลด้านอนุกรมวิธานผ่านกลไกการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร
2. ขยายการดำเนินกลไกการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารความหลากหลายทางชีวภาพสู่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและเชื่อมโยงเครือข่ายกลไกฯ
3. การบริหารจัดการข้อมูลแบบบูรณาการของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
4. โครงการจัดทำระบบบัญชีรายการทรัพยากรพันธุกรรมที่ทรงคุณค่าเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจ (National Bio-Economy Database Clearing House)
5. พัฒนาเว็บไซต์โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
แนวทางปฏิบัติ แผนงาน/โครงการ ผลการดำเนินงาน
4.1.2.1 สนับสนุนการจัดตั้งและเพิ่มสมรรถนะการดำเนินงานของพิพิธภัณฑ์และสวนพฤกษศาสตร์ 1. การจัดตั้งสวนพฤกษศาสตร์ประจำภาค
2. จัดตั้งและดำเนินงานพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาพืชและสัตว์ทะเล
3. เพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการตัวอย่างพรรณไม้
4. จัดตั้งสวนพฤกษศาสตร์มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา มหาราชา
5. การจัดการและพัฒนาพิพิธภัณฑ์ไลเคน มหาวิทยาลัยรามคำแหง
6. โครงการพัฒนาพิพิธภัณฑ์แมลง “KU Insect Park” สู่ระดับสากล
7. พัฒนาการพิพิธภัณฑ์แมลงของ อสพ. ระยะที่ 1
4.1.2.2 ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดตั้งและการดำเนินงานของธนาคารเชื้อพันธุ์พืช สัตว์ และจุลินทรีย์ 1. การจัดตั้งเครือข่ายศูนย์ทรัพยากรชีวภาพทางการแพทย์แห่งชาติ
2. โครงการธนาคารอนุรักษ์เมล็ดพันธุ์พืชที่ถูกคุกคาม (Tree Bank) : กลุ่มต้นไม้
3. โครงการจัดตั้งธนาคารพันธุกรรมสัตว์ (Animal Genetic Bank Project)
4. โครงการจัดตั้งธนาคารจุลินทรีย์ทางสัตว์
5. โครงการคลังทรัพยากรชีวภาพและวัสดุวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพ
แนวทางปฏิบัติ แผนงาน/โครงการ ผลการดำเนินงาน
4.1.3.1 จัดตั้งสถาบันวิจัยและพัฒนาความหลากหลายทางชีวภาพ เพื่อเป็นศูนย์กลางของภูมิภาคอาเซียนในการส่งเสริม เผยแพร่ และพัฒนาองค์ความรู้และบุคลากรด้านความหลากหลายทางชีวภาพ รวมถึงอนุกรมวิธาน 1. โครงการจัดตั้งศูนย์วิจัยและพัฒนาความหลากหลายทางชีวภาพปศุสัตว์
2. ศึกษา กำหนดแนวทางและแผนงานในการจัดตั้งสถาบันวิจัยและพัฒนาความหลากหลายทางชีวภาพให้ครอบคลุมการพัฒนาองค์ความรู้บุคลากร การเผยแพร่สร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับคุณค่าและความสำคัญของความหลากหลายทางชีวภาพ รวมถึง พัฒนาความรู้ด้านอนุกรมวิธานและฐานข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพ
3. โครงการจัดตั้งสถาบันบริหารจัดการสวนสัตว์
4. สถาบันอนุรักษ์และวิจัยสัตว์ป่าหายาก
4.1.3.2 พัฒนาศูนย์ความหลากหลายทางชีวภาพและศูนย์เรียนรู้ด้านความหลากหลายทางชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านความหลากหลายทางชีวภาพ เพื่อส่งเสริมการวิจัยและถ่ายทอดองค์ความรู้เกี่ยวกับความหลากหลายทางชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน 1. โครงการพัฒนาศูนย์ความหลากหลายทางชีวภาพ ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวิถีชุมชนมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง
2. ศูนย์เรียนรู้ธรรมชาติวิทยาพืชและสัตว์ทะเล
3. ศูนย์เรียนรู้การใช้ประโยชน์และอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่น
4. โครงการจัดตั้งศูนย์เรียนรู้ความหลากหลายทางชีวภาพสตอเบอรีและการรวบรวมสายพันธุ์อย่างน้อย 60 สายพันธุ์
5. โครงการจัดศูนย์เรียนรู้เรื่อง สตอเบอรี่โรงเรียนชาวสวนสตอเบอรี่เกษตรแบบยั่งยืน
6. โครงการจัดตั้งศูนย์เรียนรู้และหน่วยงานถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยีการใช้ประโยชน์จากจุลินทรีย์ และผลิตภัณฑ์ในระบบการเกษตร
4.1.3.3 ส่งเสริมและพัฒนาสมรรถนะบุคลากรนักวิจัย และนักอนุกรมวิธานด้านความหลากหลายทางชีวภาพให้ทัดเทียมกับนานาชาติ 1. ผลักดันให้เกิดการเพิ่มส่วนงานและตำแหน่งนักอนุกรมวิธานในหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและให้งานอนุกรมวิธานเป็นวิชาชีพพิเศษเป็นสาขาขาดแคลนโดยได้รับค่าตอบแทนพิเศษสำหรับวิชาชีพ
2. อบรมบุคลากรของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการดำเนินงานอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ
3. โครงการฝึกอบรมเกษตรกรและเยาวชน เรื่องการปลูกสตอเบอรี่แบบครบวงจร
4. จัดสรรทุนเล่าเรียนสาขาอนุกรมวิธานตามความต้องการของหน่วยงาน และจัดการฝึกอบรมและดูงานด้านอนุกรมวิธานอย่างต่อเนื่อง
5. พัฒนาบุคลากรด้านอนุกรมวิธานพืชและนักอนุกรมวิธานสมทบ
4.1.3.4 ส่งเสริมการพัฒนาองค์ความรู้และการศึกษาวิจัยด้านความหลากหลายทางชีวภาพ และอนุกรมวิธาน 1. โครงการวิจัยความหลากหลายทางพันธุกรรมและพฤกษเคมีของพืชพื้นเมืองทั่วไปที่มีศักยภาพในท้องถิ่น ในแปลงรวบรวมพันธุ์และ/หรือถิ่นที่อยู่อาศัย
2. การวิจัยด้านอนุกรมวิธานพืชในระบบนิเวศที่มีความหลากหลายทางชีวภาพสูง พื้นที่อ่อนไหว และพื้นที่วิกฤตทางความหลากหลายทางชีวภาพ
3. ศึกษาและทบทวนอนุกรมวิธานพืชวงศ์บัวใน ประเทศไทย
4. การวิจัยการใช้ประโยชน์พรรณไม้จากระบบนิเวศป่าบุ่ง-ป่าทาม ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย
5. การวิจัยพรรณไม้สำคัญจากการอนุรักษ์ป่าดอนปู่ตาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย
6. ศึกษาวิจัยชนิดพันธุ์ที่ถูกคุกคามในแหล่งที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติ (เช่น ไลเคน)
7. การพัฒนาองค์ความรู้ในการบริหารจัดการทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่า
8. ศึกษาวิจัย นิเวศวิทยา การชี้วัดทางชีวภาพ และสารธรรมชาติของไลเคน
9. การศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพของไลเคนในป่าชายเลนพื้นที่อ่าวไทยฝั่งตะวันออก และการจัดการฐานข้อมูล
10. การศึกษาราในไลเคนและผลิตภัณฑ์
11. ศึกษาความหลากชนิดของแมลงและการใช้ประโยชน์ในพื้นที่คุ้งบางกระเจ้า อ. พระประแดง จ. สมุทรปราการ
12. การศึกษาความหลากหลายและฤทธิ์ทางชีวภาพของเชื้อแอคติโนมัยสีทที่อาศัยร่วมกับสิ่งมีชีวิตในทะเลภาคตะวันออกของประเทศไทย
13. โครงการศึกษาวิจัยการรวบรวมและประเมินลักษณะทางสัณฐานวิทยาของเชื้อพันธุกรรมพืช
14. โครงการวิจัยเทคโนโลยีการอนุรักษ์เชื้อพันธุกรรมพืชในธนาคารเชื้อพันธุ์พืชกรมวิชาการเกษตร
15. โครงการวิจัยการประเมินคุณค่าและการใช้ประโยชน์เชื้อพันธุกรรมพืช
16. โครงการวิจัยการอนุรักษ์จุลินทรีย์ทางการเกษตรและการใช้ประโยชน์
17. โครงการวิจัยการใช้ประโยชน์จากจุลินทรีย์และผลิตภัณฑ์จากจุลินทรีย์เชิงพาณิชย์
18. โครงการวิจัยการศึกษาและพัฒนาการคุ้มครองพันธุ์พืชตามแผนปฏิบัติการประชาคมอาเซียน
19. โครงการวิจัยและพัฒนาการควบคุมการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดพืชอนุรักษ์และพืชที่ใกล้สูญพันธุ์เพื่อการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน
4.1.3.5 ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาองค์ความรู้เพื่อเป็นฐานในการปรับตัวและบรรเทาผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ 1. ศึกษาการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างป่าไม้และ พลวัตรของระบบนิเวศป่าไม้เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
2. สนับสนุนงานวิจัยด้านนิเวศวิทยา
3. ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาองค์ความรู้เพื่อเป็นฐานในการปรับตัวและบรรเทาผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
4. สำรวจชนิดพันธุ์พืช พันธุ์สัตว์น้ำและพันธุ์ปศุสัตว์ที่มีความทนทานต่อสภาวะความแห้งแล้ง ความร้อนและน้ำท่วมขัง และคัดเลือกและเพาะเลี้ยงพันธุ์พืช พันธุ์สัตว์น้ำ และพันธุ์ปศุสัตว์ที่เหมาะสมกับสภาพภูมิอากาศที่หลากหลาย
5. ศึกษาผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อระบบนิเวศเกษตร
4.1.3.6 ศึกษา ประเมินมูลค่าของเศรษฐศาสตร์ของระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพ 1. ประเมินค่าทรัพยากรป่าชายเลนและสัตว์ทะเล
2. ประเมินมูลค่าพื้นที่ป่าชายเลนตามปัจจัยสิ่งแวดล้อม
4.1.3.7 ส่งเสริมการประยุกต์ใช้และถ่ายทอดเทคโนโลยี รวมถึงเทคโนโลยีขั้นสูงและเทคโนโลยีพื้นบ้าน ในการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน 1. สำรวจและรวบรวมข้อมูลของการถ่ายทอดเทคโนโลยีที่ใช้อนุรักษ์และใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพ
4.1.3.8 สนับสนุนให้มีการศึกษาและพัฒนากลไกในการใช้องค์ความรู้และวิทยาการด้านต่างๆ รวมถึง มาตรการทางเศรษฐศาสตร์และสังคม เข้าสู่การกำหนดทิศทาง นโยบาย มาตรการ และแผนในภาคส่วนและระดับต่างๆ 1. สำรวจทัศนคติเกี่ยวกับคุณค่าและความสำคัญของความหลากหลายทางชีวภาพในระดับนโยบาย เพื่อประเมินสถานการณ์ความตระหนักในความสำคัญของความหลากหลายทางชีวภาพ
2. ศึกษาและพัฒนากลไกและแนวทางในการนำองค์ความรู้และวิทยาการด้านต่างๆ รวมถึง มาตรการทางเศรษฐศาสตร์และสังคม เข้าสู่นโยบาย มาตรการ และแผนในระดับต่างๆ
แนวทางปฏิบัติ แผนงาน/โครงการ ผลการดำเนินงาน
4.1.4.1 ส่งเสริมและรักษาการใช้ประโยชน์ภูมิปัญญาท้องถิ่นหรือความรู้พื้นบ้านที่เกี่ยวเนื่องกับการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพของประเทศให้คงอยู่และใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยสนับสนุนให้มีการพัฒนาองค์ความรู้อย่างต่อเนื่อง 1. ดำรงรักษาภูมิปัญญาท้องถิ่นหรือความรู้พื้นบ้านที่เกี่ยวกับการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพ และส่งเสริมการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน
2. ส่งเสริมการพึ่งพิงสมุนไพรจากป่าชายเลน
3. สนับสนุนการวิจัยทรัพยากรชีวภาพบนฐานภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ชุมชนใช้ประโยชน์ในระดับตำบล เช่น การใช้ประโยชน์ด้านอาหาร สุขภาพ การเกษตร และสิ่งแวดล้อม
4. ส่งเสริมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ข้อมูลภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืนระหว่างชุมชน และประเทศเพื่อให้เกิดผลสำเร็จในทางปฏิบัติ
4.1.4.2 ส่งเสริมการดำรงรักษาระบบนิเวศที่ชุมชนที่ใช้ความรู้ที่สืบทอดตามธรรมเนียมประเพณี จัดการและดูแลมาเป็นเวลานานอย่างยั่งยืน 1. พัฒนาศูนย์เรียนรู้และถ่ายทอดองค์ความรู้ (สำหรับคนเมือง)
แนวทางปฏิบัติ แผนงาน/โครงการ ผลการดำเนินงาน
4.1.5.1 จัดทำข้อมูลรายการและฐานข้อมูล รวมถึงขึ้นทะเบียนภูมิปัญญาท้องถิ่นหรือความรู้พื้นบ้านที่เกี่ยวเนื่อง และสนับสนุนการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน 1. ศึกษา รวบรวม และจัดเก็บข้อมูลภูมิปัญญาท้องถิ่น หรือความรู้พื้นบ้านที่ชุมชนใช้ในการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพในประเภทต่างๆ อาทิ การเกษตรและอาหาร การแพทย์แผนไทย การอนุรักษ์พันธุ์พืชและสัตว์พื้นเมือง
2. สำรวจภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์ และใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพ
3. จัดทำข้อมูลภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องกับความหลากหลายทางชีวภาพ
4. โครงการขึ้นทะเบียนภูมิปัญญาท้องถิ่นและวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับทรัพยากรพันธุกรรมสัตว์
5. รวบรวมข้อมูลทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์
4.1.5.2 ศึกษาและจัดทำข้อมูลภูมิปัญญาท้องถิ่นและวิถีปฏิบัติที่ดีของชุมชนในการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืนเพื่อใช้ในการกำหนดนโยบายและมาตรการในการจัดการในส่วนที่เกี่ยวข้อง 1. ศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่นในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่ใช้ประโยชน์จากความหลากหลายทางชีวภาพ
2. วิเคราะห์และจำแนกภูมิปัญญาท้องถิ่น ความรู้พื้นบ้าน การประดิษฐ์คิดค้นใหม่ และวิถีปฏิบัติของชุมชนท้องถิ่นที่ประสบความสำเร็จในการดำเนินงานด้านการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน พร้อมจัดทำมาตรการเชิงนโยบาย การบริหารจัดการ แนวทางปฏิบัติและคู่มือการดำเนินงานเพื่อเป็นกรณีตัวอย่างที่สามารถถ่ายทอดไปยังผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งในระดับชุมชน ประเทศ และระหว่างประเทศ
3. ศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่นในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กรณีศึกษา จังหวัดเพชรบุรี
4.1.5.3 ส่งเสริมให้มีการปกป้อง คุ้มครองภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เกี่ยวกับความหลากหลายทางชีวภาพและการคุ้มครองสิทธิประโยชน์ของประเทศและชุมชน 1. คุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาและบริหารจัดการผลประโยชน์ (สนับสนุนชุมชนในการยื่นคำขอรับความคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาของชุมชน อาทิ การขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ หรือ GI)
2. ศึกษาจัดทำข้อเสนอแนะแนวทางในการปกป้องคุ้มครองภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เกี่ยวกับความหลากหลายทางชีวภาพและการคุ้มครองสิทธิประโยชน์ของประเทศและชุมชน